เทศบาลตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ :www.kangann.go.th

 
 

 

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจ
 

ด้านเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกังแอน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือทำนาเป็นอาชีพหลักและการมีอาชีพเสริมในช่วงนอกฤดูทำนายังมีน้อย ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้จากการเกษตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ทำให้เกิดการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ค่อนข้างมาก ประชาชนภายในเขตเทศบาลฯ ประกอบอาชีพพอสรุปได้ดังนี้

- อาชีพเกษตรกรรม มีประมาณร้อยละ 53

- อาชีพค้าขายและบริการ มีประมาณร้อยละ 47

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชาชนในเขตเทศบาลฯ มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมใกล้เคียงกับผู้ประกอบอาชีพค้าขายและบริการ

การเกษตรกรรม

จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลฯ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมี 1,428 หลังคาเรือน ผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญคือ ข้าว

การอุตสาหกรรม

ในเขตเทศบาลตำบลกังแอน มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง คือ

1. โรงงานน้ำแข็ง จำนวนคนงานทั้งหมด 5 คน แยกเป็น

  • ชาย จำนวน 5 คน
  • หญิง จำนวน 1 คน

2. โรงงานสงวนเฟอร์นิเจอร์

จำนวนคนงานทั้งหมด 70 คน แยกเป็น

  • ชาย จำนวน 62 คน
  • หญิง จำนวน 8 คน

นอกจากนี้ยังมีการทำอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนานอกฤดูทำนา ซึ่งเป็นเพียงอุตสาหกรรมครอบครัวขนาดเล็กเท่านั้น

การพานิชยกรรม / การบริการ

1. สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม

  • สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 5 แห่ง
  • ตลาด (ดำเนินการโดยเทศบาล) จำนวน 1 แห่ง
  • ร้านค้าต่างๆ จำนวน 176 แห่ง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 7 แห่ง

2. สถานประกอบการเทศพาณิชย์

  • โรงฆ่าสัตว์ (เทศบาล) จำนวน 1 แห่ง
  • สถานธนานุบาล (เอกชน) จำนวน 1 แห่ง

3. สถานประกอบการด้านบริการ

  • โรงแรม จำนวน 2 แห่ง
  • ธนาคารต่างๆ จำนวน 5 แห่ง
  • ร้านอาหาร จำนวน 61 แห่ง
  • สถานีขนส่ง จำนวน 1 แห่ง

การท่องเที่ยว

ในเขตเทศบาลตำบลกังแอน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวแต่อย่างใดจะมีก็เพียงแต่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจเช่น อ่างเก็บน้ำ สวนสาธารณะ สวนสุขภาพ ไว้เพื่อบริการประชาชนและผู้ที่สัญจรผ่านไป - มา แล้วมีความประสงค์ต้องการจะแวะพักระหว่างการเดินทางหรือใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายเท่านั้น รายได้จากแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นรายได้จากการที่นักท่องเที่ยวแวะเข้ามาใช้บริการร้านค้า หรือร้านอาหารในเขตเทศบาลระหว่างการเดินทางไปท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ ในตัวจังหวัดสุรินทร์ หรือจังหวัดอื่นๆ ที่ต้องเดินทางผ่านเขตเทศบาล ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน

การปศุสัตว์

ประชาชนในเขตเทศบาล มีการทำปศุสัตว์เพื่อยังชีพมากกว่าการเลี้ยงเพื่อค้าขายซึ่งการเลี้ยงเพื่อค้าขายจะต้องใช้พื้นที่มาก ในเขตเทศบาลมีพื้นที่จำกัด และมีชุมชนที่มีบ้านค่อนข้างแออัดอาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดเหตุรำคาญต่างๆ ตามมา ในการนี้การทำปศุสัตว์ในเขตเทศบาลจึงกระทำได้ไม่สะดวก